เมนู

2. อารัมมณปัจจัย


[669] 1. ทัสสเนนปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ทัสสเนน-
ปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งราคะที่เป็นทัสสเนนปหา-
ตัพพธรรม เพราะปรารภราคะนั้น ราคะที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อม
เกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ย่อมเกิดขึ้น โทมนัสที่เป็นทัสสเนนปหา-
ตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งทิฏฐิ เพระปรารภทิฏฐินั้น
ราคะที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉา
ย่อมเกิดขึ้น โทมนัสที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะปรารภวิจิกิจฉา วิจิกิจฉา ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น โทม-
นัสที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น เพราะปรารภโทมนัสที่เป็นทัสส-
เนนปหาตัพพธรรม โทมนัสที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจ-
ฉา ย่อมเกิดขึ้น.
[670] 2. ทัสสเนนปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวทัสส-
เนนนภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นทัสสเนนปหา-
ตัพพธรรม รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน.
บุคคลพิจารณาเหตุขันธ์ทั้งหลายที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพ-
ธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริย-
ญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่นาคตังสญาณ
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[671] 3. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนาย-
ปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งราคะที่เป็นภาวนายปหา-
ตัพพธรรม เพราะปรารภราคะนั้น ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิด
ขึ้น อุทธัจจะ ย่อมเกิดขึ้น โทมนัสเป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
เพระปรารภอุทธัจจะ อุทธัจจะ ย่อมเกิดขึ้น โทมนัสที่เป็นภาวนาย-
ปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะปรารภโทมนัสที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม โทมนัสที่เป็นภาว-
นายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น อุทธัจจะ ย่อมเกิดขึ้น.
[672] 4. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ทัสสเนน-
ปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งราคะที่เป็นภาวนายปหา-
ตัพพธรรม เพราะปรารภราคะนั้น ราคะที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อม
เกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ย่อมเกิดขึ้น โทมนัสที่เป็นทัสสเนนปหา-
ตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.


เพราะปรารภอุทธัจจะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ย่อมเกิดขึ้น โทม-
นัสที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะปรารภโทมนัสที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม โทมนัสที่เป็น
ทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ย่อมเกิดขึ้น.
[673] 5. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวทัสส-
เนนนภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณาเห็นกิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นภาวนาย-
ปหาตัพพธรรม, พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้ว
ในกาลก่อน.
บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นภาวนายปหาตัพพ-
ธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ
แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[674] 6. เนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย
แก่เนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณ-
ปัจจัย

บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว ย่อมพิจารณา
กุศลกรรมนั้น, ย่อมพิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.
บุคคลออกจากฌาน แล้วพิจารณาฌาน.
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค พิจารณานิพพาน.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา.
บุคคลพิจารณาเห็นโสตะ ฯลฯ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ ฯลฯ หทัยวัตถุ เห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวทัสสเนนนภาว-
นายปหาตัพพธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นเนวทัสสเนนภาว-
นายปหาตัพพธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.
อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ.
อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย
แก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมู-
ปคญาณ แก่อนาคตตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[675] 7. เนวทัสสเนนภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย
แก่ทัสสเนนปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว ย่อมยินดี
ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งกุศลกรรมนั้น เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น ราคะที่เป็น
ทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ย่อมเกิดขึ้น
โทมนัสที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลย่อมพิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้ว ในกาลก่อน.
บุคคลออกจากฌานแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งฌาน
เพราะปรารภฌานนั้น ราคะที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ
วิจิกิจฉา ฯลฯ
เมื่อฌานเสื่อมแล้ว โทมนัสที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้มีความเดือนร้อน.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งจักษุ ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิด
เพลินยิ่ง ซึ่งโสตะ ฯลฯ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งขันธ์ทั้งหลาย
ที่เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพธรรม เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะที่เป็น
ทัสสเนนปหาตัพพธรรม ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ
[676] 8. เนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย
แก่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว ย่อมยินดี
ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งกุศลกรรมนั้น เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น ราคะ ย่อม
เกิดขึ้น อุทธัจจะย่อมเกิดขึ้น โทมนัสที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพธรรม เพราะปรารภจักษุเป็น
ต้นนั้น ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น อุทธัจจะ ย่อมเกิด
ขึ้น โทมนัสที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.

3. อธิปติปัจจัย


[677] 1. ทัสสเนนปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ทัสสเนน-
ปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำราคะที่เป็นทัสสเนน-
ปหาตัพพธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำราคะนั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น
ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำทิฏฐิให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่นแล้ว ครั้นกระทำทิฏฐินั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว
ราคะที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.